วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

มหรสพ

มหรสพ



เนื่องจากอาณาจักรอยุธยารุ่งเรืองยาวนานถึง ๔๑๗ ปี จึงมีมรดกทางวัฒนธรรม และประเพณีการละเล่นมากมาย หลักฐานที่ปรากฏตามพงศาวดาร จดหมายเหตุและวรรณคดี เช่น หนัง โขน ละคร ระบำต่าง ๆ การเล่นเบิกโรง โมงครุ่ม ระเบ็ง กุลาตีไม้ เทพทอง กระบี่กระบอง มวยปล้ำ หกคะเมน ไต่ลวด รำแพน ลอดบ่วง หุ่น เสภา และสักวา เมื่ออยุธยาล่มสลายลงการแสดงจึงตกทอดเป็นแบบแก่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมา แต่สำหรับอยุธยานั้นคงมีตกทอดในหมู่ชาวบ้านไม่มากนัก รวมทั้งยังมีมหรสพใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปมาแทน
ปัจจุบันมหรสพพื้นบ้านที่ยังคงนิยมเล่นกันอยู่ในอยุธยา คือ ลิเก ลำตัด ปี่พาทย์ และละครแก้บน
ลิเกอยุธยา
ลิเกชื่อดังเป็นชาวบ้านห้วยทราย ตำบลโพธิ์ลาว อำเภอมหาราช ทั้งสิ้น และมีลิเกในอยุธยาอยู่หลายอย่างกระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมือง บริเวณหัวรอ ประตูชัย ตลาดสวนจิตร (ตลาดอุทุมพร) และแถวสถานีรถไฟ นับเป็นหมู่บ้านลิเกแหล่งใหญ่สุดของอยุธยา ส่วนใหญ่คณะลิเกจะไปเล่นในงานบวช งานศพ งานกฐิน งานผ้าป่า งานไหว้เจ้า และงานประจำปีของวัดต่าง ๆ ปัจจุบันเรื่องที่เล่นจะแต่งให้สอดคล้องกับยุคสมัย ส่วนเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่เคยนิยมแต่เดิมไม่นิยมเล่นกันเท่าใดนัก นอกจากในงานศพ

ลำตัด
ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิม ต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วน ๆ เพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษี ซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ ๒ คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ และคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิม
การแสดงลำตัด เป็นการเฉีอนคารมกันด้วยเพลง (ลำ) โดยมีการรำประกอบ แต่ไม่ได้เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเก และการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณในการด้นกลอนสด ส่วนการประชันลำตัดระหว่าง ๒ คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะสำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงลำตัด มีเพียงกลอง รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ และกรับ เท่านั้น

ปี่พาทย์
อยุธยานับเป็นถิ่นที่มีวงปี่พาทย์แหล่งใหญ่แหล่งหนึ่ง ในท้องถิ่นภาคกลาง มีอยู่ด้วยกันหลายวง โดยสืบทอดหลักการทางเพลงดนตรีไทยจากบ้านครู จางวางทั่ว พาทยโกศล ไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด จึงมีเพลงไทยเก่าแบบโบราณอยู่มาก
การแสดงปี่พาทย์ จะใช้แสดงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล เช่น งานบวช งานแต่ง งานศพ ฯลฯ และเครื่องใช้ที่เล่นจะขึ้นอยู่กับเจ้าภาพว่าต้องการเครื่องน้อยหรือเครื่องมาก


ละครแก้บน
มักแก้บนด้วยละครชาตรี ต่อมาระยะหลังนิยมใช้ละครนอก ซึ่งมิได้ยึดถือรูปแบบและขั้นตอนการแสดงแบบดั้งเดิมอีกต่อไป และการ "ยกเครื่อง" จัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของละครแก้บน โดยทำให้เสร็จในช่วงเที่ยงวัน
ละครแก้บนในอยุธยา มีหลายคณะในระบบครอบครัว งานแสดงจะมีมากในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นการแก้บนในเรื่องที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย การให้ได้มาในสิ่งที่ตนปราถนา กลายเป็นแก้บนในเรื่องอื่น ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โครโมโซม

ยีนและโค
สารพันธุกรรม เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งหมดสำหรับควบคุมโครงสร้างและการทำหน้าที่ของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกชนิดใดชนิดหนึ่งอาจเป็น DNA หรือ RNA สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีสารพันธุกรรมเป็น DNA ยกเว้นไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่มีสารพันธุกรรมเป็น RNA
รโมโซม

การค้นพบสารพันธุกรรม

พ.ศ. 2412 โยฮันน์ ฟรีดริช มิเชอร์ ( Johann Friedrich Miescher ) ค้นพบกรดนิวคลีอิคจากสารเคมีที่สกัดจากนิวเคลียสของเซลล์เม็อเลือดขาว ต่อมาพบว่า กรดนิวคลีอิค มี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA ในนิวเคลียสมีสารที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ

พ.ศ.2471 เอฟ กริฟฟิท ( F. Griffth ) ได้ทำการพิสูจน์สารพันธุกรรม เพื่อสนับสนุนว่า DNAเป็นสารพันธุกรรม โดยทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย Pneumococcus ที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ สายพันธุ์ Rเป็นชนิดที่ไม่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ไม่สร้างแคปซูล กับ S เป็นชนิดที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่ทำให้ตายด้วยความร้อน มีสารบางอย่างที่ไปทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้และสามารถถ่ายทอดลักษณะนี้ไปสู่ลูกหลาน

องค์ประกอบของ DNA

DNA ประกอบด้วย หน่วยย่อยของ Nucleotides จับกันด้วยพันธะ Phosphodiester Bond และ Nucleotides นี้ประกอบด้วย น้ำตาล Deoxyribose หมู่ฟอสเฟต และเบส (Nitrogenous Base) 4 ชนิด ได้แก่ - Guanine (G) , Adenine (A) (Purine - มีวงแหวน 2 วง) - Cytosin (C) , Thymine (T) (Pyrimidine – มีวงแหวน 1 วง )

แบบจำลองโครงสร้างของ DNA

J.D. Watson นักชีววิทยาอเมริกัน & F.H.C. Crick นักฟิสิกส์อังกฤษ เสนอโครงสร้างของ DNA ได้รับ Nobel Prize ตีพิมพ์ผลงานใน Nature ฉบับวันที่ 25 เดือนเมษายน ค.ศ. 19531. ประกอบด้วย 2 polynucleotides ยึดกันโดยการจับคู่กันของเบส โดย H-bond2. ทั้ง 2 สายขนานกันและมีติดทางตรงข้าม (antiparallel)

3. การจับคู่กันของเบสระหว่าง A - T (2 H-bonds), C - G (3 H-bonds) = complementary basepairs (เบสที่เป็นเบสคู่สมกัน คือ A จับคู่กับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ และGจับคู่กับ C ด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ)4. ทั้ง 2 สายจะพันกันเป็นเกลียวเวียนขวา (right handed double strand helix)5. แต่ละคู่เบสห่างกัน 3.4 อังสตรอม (.34 nm) เอียงทำมุม 36 องศา 1 รอบ = 10 คู่เบส = 34 อังสตรอมเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 อังสตรอม

การจำลองโมเลกุลของ DNA

การจำลองตัวเองของ DNA มีหลายแบบนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานการเกิดการจำลองตัวเองของ DNA ไว้ ดังนี้ 1. แบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของDNA แล้ว DNAแต่ละโมเลกุลมีพอลินิวคลีโอไทด์ สายเดิมและสายใหม่ ซึ่งเป็นแบบจำลองของวอตสันและคริก

2. แบบอนุรักษ์ (conservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA แล้วพอลินิวคลีโอไทด์ทั้งสองสายไม่แยกจากกันยังเป็นสายเดิม จะได้ DNA โมเลกุลใหม่ที่มีพอลินิวคลีโอไทด์ สายใหม่ทั้งสองสาย 3. แบบกระจัดกระจาย (dispersive replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNAจะได้ DNA ที่เป็นของเดิมและของใหม่ปะปนกันไม่เป็นระเบียบ

กระบวนการจำลองโมเลกุลของ DNA

การสร้างสาย leading strand เมื่อ DNA สองสายคลายเกลียวแยกออกจากกันDNA polymerasจะสังเคราะห์leading strand เป็นสายยาว โดยมีทิศทางจากปลาย 5, ไปยัง 3, การสร้าง lagging strand DNA polymeras สังเคราะห์ DNA สายใหม่เป็นสายสั้นๆ Okazaki fragmentโดยมีทิศทาง 5, ไปยัง 3, จากนั้น DNA ligaseจะเชื่อมต่อ DNA สายสั้นๆให้เป็นDNA สายยาว

ส่วนประกอบทางเคมีของ RNA

RNA เป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบหลักคล้ายกับดีเอ็นเอ คือประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เชื่อมต่อกันเป็นสายยาว RNA มีโครงสร้างเป็นสายเดี่ยว ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เบส 4 ชนิดได้แก่ อะดีนีน กวานีนไซโทซีน และยูราซิล น้ำตาลไรโบส และหมู่ฟอสเฟต

RNA แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ messenger RNA (mRNA) หรือ RNA นำคำสั่ง นำรหัสมาจากDNAเพื่อมาแปลเป็นโปรตีน transfer RNA (tRNA) หรือ RNA ถ่ายทอดทำหน้าที่จับกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เพื่อนำมายังไรโบโซม ribosomal RNA (rRNA)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในไรโบโซมโดยRNAจะรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิดกลายเป็นไรโบโซม

การสังเคราะห์ RNA

การสังเคราะห์ RNA นั้น จะมี DNA เป็นแม่พิมพ์ โดยอาศัยเอ็นไซม์ RNA polymerase โดยเริ่มต้นจากพอลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายของ DNA จะคลายเกลียวและแยกออกจากกันในบริเวณที่จะมีการสร้าง RNA จากนั้นจะมีการนำนิวคลีโอไทด์ของ RNA เข้าจับกับเบสของ DNA

รหัสพันธุกรรม

รหัสพันธุกรรม คือ ลำดับของเบสบน DNA ซึ่งถ่ายทอดไปยัง RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน เบสใน DNA มีเพียง 4 ตัวส่วนกรดอะมิโนมีอย่างน้อย 20 ชนิด ดังนั้นรหัสหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วยเบสอย่างน้อย 3 ตัว ประกอบกัน และจากการคำนวณรหัสหนึ่งมีเบส 3 ตัว จะได้รหัสจำนวนถึง 64 รหัสด้วยกัน ซึ่งมากเกินพอสำหรับกรดอะมิโนที่มีอยู่ในธรรมชาติ

กรดอะมิโนบางชนิดมีรหัสมากกว่า1 รหัส เรียกว่า degenerate codonรหัสหยุด เรียกว่า nonsense codonหรือ stop codon หรือ terminating codon ได้แก่ UAA UAG UGAรหัสพันธุกรรมตัวแรกที่พบ คือ UUU เป็นรหัสพันธุกรรมของกรดอะมิโนฟินิลอะลานีน (Phe)

การสังเคราะห์โปรตีน

ขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีน
1. การถอดรหัส (transcription) เป็นกระบวนการถ่ายทอดข้อความทางพันธุกรรมจาก DNA ไปสู่ mRNA ลำดับเบสบน mRNAจะไม่เหมือนกับลำดับเบสในสายพอลินิวคลีโอไทลด์ของ DNA ที่เป็นแม่พิมพ์ แต่จะเหมือนกับลำดับเบสในสายพอลินิวคลีโอไทด์ที่เป็นคู่ของแม่พิมพ์ โดยจะมี U เข้าแทนที่ T ในการจับกับ A

หมายเหตุ รหัสทางพันธุกรรม หมายถึง ลำดับเบสบน mRNA ที่เรียกว่า codon ประกอบด้วยเบส 3 ตัว ปัจจุบันพบรหัสที่ที่กำหนดชนิดของกรดอะมิโน 64 รหัส แบ่งออกเป็น

2. การแปลรหัส (translation) เริ่มจาก mRNA จับกับไรโบโซมหน่วยเล็ก แล้ว tRN จะนำกรดอะมิโน โมเลกุลแรก มาจับกับโคดอนของ mRNA จากนั้น tRNA โมเลกุลที่ 2 จะนำกรออะมิโนเข้ามาจับกับโคดอนของ mRNA ตัวถัดไป และระหว่างกรดอะมิโน โมเลกุลที่1และ2 จะมีการสร้างพันธะเพปไทด์เชื่อมกัน tRNA เมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็จะหลุดออกมา ขณะที่สร้างโปรตีน ไรโบโซมจะเคลื่อนไปตามสาย mRNA โดยเคลื่อนจากปลาย 5' ไปยัง 3' เป็นเช่นนี้เรื่อยๆจนได้สาย polypeptide ซึ่งมีลำดับของกรดอะมิโนตามรหัสบนmRNA

1. รหัสเริ่มต้นของการสังเคราะห์โปรตีน คือ AUG เป็นรหัสของเมไทโอนีน2. รหัสหยุดสร้างโปรตีน มี 3 รหัส คือ UAA UAG และ UGA3. รหัสกำหนดชนิดของกรดอะมิโน ซึ่งเหลือ 18 ตัว มี 60

รหัสเริ่มต้นการสังเคราะห์โปรตีน คือ AUG เป็น codon จำเพาะต่อกรด อะมิโนเมไทโอนีน (Met)รหัสพันธุกรรมนี้มีการแปลเหมือนกันในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด (universal code